การใช้เพื่อวัดระยะทาง ของ มหานวดาราประเภท 1เอ

จากทฤษฎีฟิสิกส์ดาวฤกษ์ที่กล่าวว่าดาวแคระขาวทุกดวงมีมวลไม่เกินขีดจำกัดจันทรสิกขาและเกิดเป็นมหานวดาราประเภท 1เอ เมื่อดาวแคระขาวมีมวลถึงขีดจำกัดจันทรสิกขา ซึ่งหมายความว่า ดาวแคระขาวก่อนเกิดมหานวดาราจะมีมวลเท่ากัน และจะได้ว่ามหานวดาราประเภทนี้จะมีความสว่างสัมบูรณ์เท่ากันด้วย จากสมบัติดังกล่าว ทำให้นักจักรวาลวิทยาสามารถใช้มหานวดาราประเภท 1เอ ในการวัดระยะห่างระหว่างดาราจักรได้[35]

แต่ต่อมา นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีมหานวดาราประเภท 1เอ บางดวงมีความสว่างมากผิดปกติ ซึ่งน่าจะเป็นไปได้ว่าดาวแคระขาวก่อนเกิดมหานวดารามีมวลสูงกว่าขีดจำกัดจันทรสิกขา โดยนักวิทยาศาสตร์พบมหานวดาราแบบนี้มาแล้ว 4 ดวงนับตั้งแต่ พ.ศ. 2546 และได้ให้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "ซูเปอร์จันทรา"[35] ริชาร์ด สเกลโซ จากมหาวิทยาลัยเยล ได้ระบุถึงมวลดาวแคระขาวที่เป็นต้นกำเนิดมหานวดารา SN 2007if ว่ามีมวล 2.1 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ และยังค้นพบด้วยว่าความสว่างนั้นมาจากชั้นแก๊สที่สาดออกมาก่อนและหลังการระเบิดด้วย[35]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหานวดาราประเภท 1เอ http://cosmos.swin.edu.au/entries/typeiasupernovap... http://cosmos.swin.edu.au/entries/typeibsupernovas... http://space.newscientist.com/article/dn10114 http://space.newscientist.com/article/dn10883-brig... http://www.spaceflightnow.com/news/n0308/06superno... http://adsabs.harvard.edu/abs/1939PNAS...25..118W http://adsabs.harvard.edu/abs/1976IAUS...73...75P http://adsabs.harvard.edu/abs/1979ApJ...232..404C http://adsabs.harvard.edu/abs/1987ApJ...323..140L http://adsabs.harvard.edu/abs/1992AJ....103.1788V